วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555


เว็บเพจนี้ เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 305171 การ

เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ 

มหาวิทยาลัยนเรศวร ภาคเรียนปลาย ปีการศึกษา 

2554 เสนอ อ.ภาณุพงศ์ สอนคม




ภูมิปัญญาในการสร้างที่อยู่อาศัยของชาวใต้

     ในการสร้างที่อยู่อาศัยของชาวภาคใต้ในสมัยก่อน จะมีลักษณะเป็นบ้านหรือเรือน ซึ่งเรียกกันโดยสำเนียงภาษาใต้ว่า “เริน” ลักษณะของเรือนของชาวใต้มี 2 ลักษณะ คือ เรือนเครื่องผูกและเรือนเครื่องสับ


     1. เรือนเครื่องผูกคือเรือนที่ใช้วัสดุต่าง ๆ ประกอบกันเช้ากับโครงสร้างและตัวเรือน โดยการผูกยึดด้วยเชือก เถาวัลย์ วัสดุหลักมักเป็นไม้ไผ่และไม้ยืนต้นขนาดเล็กที่ล้วนแล้วแต่หาได้ ภายในท้องถิ่นมีการปรับแปรวัสดุง่าย เพียงนำมาผูกยึด สอดสานเรียบร้อยเข้าด้วยกันประกอบ กันเป็นเรือน เรือนเครื่องผูกมีขนาดเล็ก ยกพื้นไม่สูงมากนักมีขนาดเล็ก (2 ช่วงเสา) ไม่มีความคง ทนถาวรและให้ความปลอดภัยไม่มากนักเรือนไทยภาคใต้บำรุงรักษาและซ่อมแซมได้ง่าย ส่วนประกอบแทบทุกส่วนของ เรือนไทยภาคใต้ และยิ่งเฉพาะเรือนเครื่องผูก เช่น เครื่องมุง เครื่องกั้น พื้นเรือน และแม้แต่โครง สร้างบางชิ้นสามารถถอดเปลี่ยนซ่อมแซมได้เมื่อชำรุดหรือหมดอายุการใช้งาน คนในเรือนช่วยกัน ซ่อมแซมรักษาได้ง่าย รวมทั้งยังปลูกสร้างต่อเติมได้ง่าย คนในครอบครัวอย่างน้อยมีคนที่มีความ รู้ความสามารถเชิงช่างสามารถปลูกสร้างต่อเติมบ้านได้เอง โดยส่วนประกอบต่าง ๆ ไม่เสียหาย1.1 ภูมิปัญญาในการสร้างเรือนไทยเครื่องผูกของชาวใต้ ปรากฏดังนี้1.1.1 การใช้ตีนเสาหรือบาทเสา เกิดจากการศึกษาลักษณะธรรมชาติของ ท้องถิ่น เนื่องจากภาคใต้ฝนตกมาก ทำให้ดินชื้นเสาบ้านที่ฝังดินจะ ผุเร็ว ทำให้อยู่อาศัยได้ไม่นาน ประกอบกับมีตัวปลวกคอยกัดกิน เสาบ้าน บางแห่งอาจใช้ตุ่มไหเล็ก ๆ ใส่ทราบให้เต็ม แล้วคว่ำปาก ไหลลงใช้รองรับเสา ต้นเสาจะไม่ผุเมื่อปลวกขึ้นก็ดูแลได้ง่ายอนึ่ง การใช้ตีนเสาหรือบาทเสา ทำให้เคลื่อนย้ายบ้านได้ง่าย เมื่อไม่ต้องการจะอยู่อาศัย ณ จุดเดิม อาจเป็นเพราะความเชื่อที่ทำ ให้เกิดเจ็บไข้ได้ป่วย ก็จะไหว้วานให้เพื่อนบ้านช่วยหามเรือนไปตั้ง ณ จุดอื่น เกิดสำนวน “ออกปากหามเริน” 



ตีนเสา

1.1.2 การใช้ฟากปูพื้นเรือน ฟากที่ปูพื้นเรือนอาจจะทำกับไม้ไผ่ หรือไม้ หมากผ่าตามยาวาของลำต้น เหลาให้กลมหรือแบนใช้หวานผูกรัด ให้แน่น การจัดวางซี่ฟากวางไว้ห่างกันเล็กน้อย การปูฟากทำให้ อากาศถ่ายเทได้สะดวกทำให้ไม่ร้อน และรักษาความสะอาดได้ดี


ฟากปูพื้น

1.1.3 การใช้ไม้ไผ่สานฝาทำฝาบ้าน โดยการนำไม้ไผ่มาผ่าซีกแล้วทุบให้ แบน นำมาสานเป็นฝากั้นบ้าน ช่องว่างระหว่างไม้ไผ่แต่ละอันจะทำ ให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก นอกจากนั้นการสานฝาลายต่าง ๆ ยังทำ ให้เกิดความสวยงามอีกด้วย


ฝากั้นบ้าน

1.1.4 วัสดุใช้มุงหลังคา เป็นวัสดุธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น ใบไม้ ชนิดต่าง ๆ ใบหวายนั่ง ใบจาก ใบสาคู วัสดุเหล่านี้ไม่เก็บความ ร้อน ทำให้บ้านเรือนไม่ร้อนน่าอยู่อาศัย นอกจากนี้หลังคาบ้านจะ ใช้หลังคาแหลม คือหน้าจั่วสูง ทำให้น้ำฝนไหลลงอย่างรวดเร็ว หลัง คาไม่ทานน้ำ ไม่ซึมซับน้ำ ทำให้ผุช้า ชาวบ้านมักจะเลือกใช้ใบจาก ใบสาคู เพราะผิวใบลื่นและหนา


จาก (ใช้มุงหลังคา)

ลักษณะหลังคา หลังคาแหลม หน้าชั่วสูง1.1.5 บันไดเรือนไทยเครื่องผูก การมีใต้ถุนเรือนสูงโล่ง จะต้องทำบันไดให้ สามารถขึ้นเรือนได้สะดวก บันไดเรือนไทยเครื่องผูกจะสามารถยกลากขึ้นเรือนได้เพื่อสัตว์ร้าย ภายหลังเพื่อสร้างเรือนไทยเครื่องสับแล้ว บ้านก็ได้จัดสร้างถาวรนับว่าเป็นภูมิปัญญาในการ พัฒนาที่อยู่อาศัยของคนไทย



บันได

1.1.6 นอกชาน นอกจากตัวเรือนแล้ว ภูมิปัญญาของช่างพื้นบ้านและชาว บ้านยังคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยของพื้นที่บ้านเรือนด้วย เช่น สานกระบุง ตะกร้า หรือ นันทนาการต่าง ๆการมีใต้ถุนบ้านที่สูงโล่ง ทำให้เดินผ่านได้สะดวก สามารถทำงาน อดิเรกได้ หรือเก็บวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือประกอบอาชีพได้


นอกชาน (นอกชานแห้ง)

2. เรือนเครื่องสับเป็นเรือนที่เกิดขึ้นหลังเรือนเครื่องผูก เนื่องจากเครื่องมือเครื่องใช้ ในการแปรรูปไม่พัฒนา ยังใช้ขวาน เลื่อย สำหรับตัดโค่น และตัดแต่งต้นไม้ให้เป็นเหลี่ยมได้ง่าย เรือนเครื่องสับจึงใช้ไม้เหลี่ยม ขั้นแรกอาจมีแค่ มีด พร้า ขวาน สำหรับสับตกแต่ง จึงเรียกเรือนที่ ใช้ซึ่งสับ ตกแต่งด้วยขวาน และมีดพร้าว่า เรือนเครื่องสับ


เรือนไทยภาคใต้แบบเรือนเครื่องสับ


2.1 ใต้ถุนสูงโล่ง มีต้นเสารอง เป็นภูมิปัญญาในการสร้างเรือนไทยเครื่องสับ ของชาวใต้ เป็นเรือนที่ให้ความมั่นคงถาวรและปลอดภัยมากกว่าเรือนเครื่องผูก เรือนไทยภาคใต้ มีใต้ถุนสูงโล่ง ใช้เป็นงานหัตถกรรมได้ เช่น ทำเครื่องจักสานต่าง ๆ ทำงานแกะสลักไม้ งานแกะ ฉลุหนัง เครื่องมือเครื่องใช้ หรือแม้แต่โลหะ เครื่องเงินเครื่องเหล็ก ใต้ถุนสูงยังสามารถใช้เป็นที่ เลี้ยงสัตว์ได้ด้วย ทำคอก ทำเล้า บางเรือนใช้ใต้ถุนเป็นที่ผูกล่าม ม้า วัว ควาย ในช่วงกลางคืน เพื่อสะดวกแก่การปกป้องดูแลได้ด้วย 





ใต้ถุนสูงโล่ง

2.2 ช่องลม การใช้ช่องลม เรือนเครื่องสับจะใช้ฝากั้นกระดานลมสะพัดผ่านได้ ยาก ภายในตัวเรือนอาจจะร้อนอบอ้าว ช่วงพื้นบ้านจึงต้องเว้นช่องลมเอาไว้ เพื่อระบายอากาศ โดยจะเว้นไว้ที่ขื่อ คือการใช้ขื่อสองชั้น ซึ่งเรียกว่า “คอสอง” นอกจากนั้นอาจพิจารณาใส่ช่องลม ที่ส่วนอื่นของบ้านก็ได้ เพื่อให้ระบายอากาศได้มากขึ้น ช่องลมจะกั้นด้วยระแนงถี่หรือห่างขึ้นอยู่ กับความต้องการและความสวยงามของลวดลายและรูปแบบที่ประดิษฐ์ขึ้น




ช่องลม

2.3 การใช้เดือย ใช้ลิ่มแทนตะปู เนื่องจากตะปูหายาก และยังขึ้นสนิทอีกด้วย ทำให้ต้องซ่อมแซมบ่อย ช่างพื้นบ้านจึงหาวิธีแก้ปัญหาด้วยการ บาก เจาะ ต่อไม้ เข้ามุมไว้ฝัง แกนหมุน เปิด ปิด ประตู หน้าต่าง รวมถึงการถอดกลอนแทนการใช้ตะปู นอกจากนี้การใช้การ บาก เจาะ เข้าเดือย ใส่ลิ่ม หรือสลัก ก็ถอดเปลี่ยนได้ไม่ยาก


สลักบานประตู

อุปกรณ์ดักจับสัตว์น้ำ

          วิถีชุมชน แต่ละถิ่นฐาน มีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสายน้ำ เรื่องราวเหล่านี้ คนรุ่นใหม่เด็กรุ่นใหม่ จะไม่รู้จัก ทราบถึงการสังเกตวิเคราะห์ การดำรงชีวิตในแต่ละฤดูกาล ผมมีเพื่อนบ้าน บ้านอยู่ใกล้ๆกัน ที่บ้านต่างจังหวัด ผมชอบตามหลังคุณลุงเภาไปดูการดักลอบไซ และเดินไปดูคนอื่นๆทำห้างยกยอขนาดใหญ่ มักสอบถามเพื่ออยากทราบเรื่องราวด้วยความอยากรู้นั้นเอง ถึงแต่ละถิ่นแต่ละภาค วิถีชีวิต การดำรงชีพ จับสัตว์น้ำ ผมไปนครศรีฯสัปดาห์หน้า มีหลายๆเรื่องในวัยเด็กๆที่ เราเรียนรู้แบบครูพักลักจำ และแบบบอกต่อกันมาเรื่องการจับสัตว์น้ำ ผมเคยไปตัดกาบตาลตะโหนด ต้นที่ไม่อ่อน และแก่เกินไป นำกาบมาแช่น้ำ 1-3 คืน แล้วนำมาทุบๆ เอาใยเส้น มาทำชุดดักปลาช่อนได้ปลาช่อนขนาดใหญ่ การแทงชุด และแทงตรอมดักนกเขานั้นจึงเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นทางปักษ์ใต้ ที่ผมเคยทำมาเองเมื่อเด็กๆ




( ชุด ดักปลาช่อน ใช้ใยตาลตะโหนด หรือภาษาปักษ์ใต้ เรียกกาบโหนด นำใยที่ได้จากกาบคลึงๆ
ให้เคลี่ยวกลมๆแล้วใช้สันมีดกดรีดให้แบนๆ ความยาวประมาณ 30-35 ซ.ม. นำมาแทงชุดขึ้นรูป ตรงนี้ถ้าคนมีฝีมือ การขึ้นรูปชุดจะสวยงามมาก ภาคอื่นๆจะใช้หวายแทงชุดดักปลาช่อน ถ้าเป็นชุดดักปลากด จะทำอีกแบบ โดยใช้หนามหวายลิง ที่มีหนาม หันไปทางเดียวกันมาทำ เมื่อปลากดเข้าชุด จะไหล่ไปตามหนาม แต่ถ่อยหย่อนมาไม่ได้ เพราะ หนามจะแทงกดทับไว้ ภาพชุด จากพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน อำเภอรัตภูมิสงขลา พิพิธภัณฑ์ จัดเป็นระบบระเบียบ ขอขอบคุณครับ)ตรอมแทงคล้ายๆชุด บานขนาด กะลามะพร้าว ใช้ใยตาลตะโหนด นำขึ้นไป ไว้เหนือรังนกเขาที่มันทำรังที่กิ่งไม้ เมื่อนกมากกในรัง เราจะดึงเชื่อกตรอมจะมาคลุมตัวนกเขาเราปีนขึ้นไปปลดนกลงมา นี้คือภูมิปัญญาท้องถิ่นปักษ์ใต้ (เส้นใยตาลตะโหนดนั้นมีกระบวนการวิธีเลือกเส้นมากไม่ขอกล่าวในที่นี้) ชุดดักปลาช่อนนั้น การดักเราจะทราบว่าลักษณะ เช่นไรเป็นทางปลาผ่านและซ้อนดักกุ้ง ตามคันนา ที่มีช่องน้ำไหล่ ซ้อนดักปลากดที่ทำจากหนามหวายลิง ดักเมื่อหลังเดือนสิบ เข้าสู่ฤดูฝน ปลากดขึ้นวางไข่ ตรงนี้ต้องสังเกตเป็นว่าทางน้ำอย่างไร? ปลากดผ่าน ในน้ำระหว่างพอนจาก ต้นจาก (ต้นจากเป็นไม้น้ำกร่อย) ชุดดักปลาช่อน คล้ายๆชุดจับหมูในอดีตที่ทำด้วยหวาย ปัจจุบันนี้ไม่มีแล้วเช่นกัน
(การเสด็จตรวจราชการหัวเมืองปักษ์ใต้ ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
เขียนทูลเกล้าฯถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหน้า 10 กล่าวว่าที่ชุมพร
ราษฏร์ตั้งละมุ ละมุคือโป๊ะเล็กๆ ที่ทำไว้สำหรับจับปลาตามชายทะเล เป็นรายงานเมื่อ พ.ศ.2439)


คุณลุงเภา น่าจะเป็นคนเดียวที่เหลื่ออยู่ ในชุมชน ที่ทำจักสานอุปกรณ์ดักลอบดักไซในชุมชน คนรุ่นใหม่ๆ ซื้อตาข่าย มาดักปลา ไม่มีความสามารถ ทำเองได้ ถ้าจะดักลอบไซ คงไปซื้อมาจากที่ผู้อื่นทำขายจากที่อื่น

ศิลปะ ภูมิปัญญา เรื่องราวเหล่านี้เริ่มตั้งแต่รู้จักขนาดลำไม้ไผ่ ขนาดไม้ไผ่ ที่นำมาทำไม้ไผ่ ไม่แก่และอ่อนเกินไป นำมาตัดให้ขนาดเท่าๆกัน ดังที่เห็นในภาพ ขั้นเตรียมการทำลอบไซ


ไม้ไผ่ จากเป็นลำๆ นำมาเลาให้เป็นเส้นกลมๆ ขนาดเท่าๆกัน เพื่อทำซีกรงไซ ลอบ และแบ่งบางส่วนไว้ทำอย่างอิ่น อุปกรณ์เสริม เช่นงาไซ ขอบไซ ฝาปิดท้ายไซ


รูปแบบของไซ อยู่ในขั้นตอนขึ้นรูป ในอดีต ใช้หวาย ใช้เชื่อก ปัจจุบันใช้เชือกไนลอนทนทานกว่าลุงเภากล่าว



การทำไซ จะเห็นตามภาพ ยังมีกระบวนการอีกมาก การส่งเสริมการเรียนรู้วิถีชุมชน หลายแห่งละเลยถูกมองข้ามไป ไม่เห็นความสำคัญตรงนี้ เรื่องราวเหล่านี้ เด็กรุ่นหลัง จะได้ยินแต่เรื่องเล่าเท่านั้นทางองค์การบริหารส่วนตำบลโดยท่านนายกฯไพรวงษ์ ชินบุตร น่าจะรวบรวม สร้า้งพิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้ของท้องถิ่น โดยเก็บอุปกรณ์ ไถ่นา อุปการณ์หาปลา ฯลฯ มาจัดให้เป็นระบบ โดยขอบริจาคจาคชาวบ้านที่ใครๆทิ้งแล้ว นี้คือการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์นะครับ คนแวะมาดูมากมาย

ใกล้จะเสร็จแล้ว ใส่งาไซ ใส่ปิดท้าย จะนำไปใช้การได้



คลองหน้าบ้าน เมื่อน้ำลด เพื่อนบ้านมาขัดไม้สร้า้งห้างยกยอ ณ วันนี้ ถนนริมคลอง เลียบคลองน้ำเต็ม
รถยนต์ เข้าไม่ได้ (น่าเสียดาย สะพานที่มองเห็นน้ำพัดพังไปแล้ว ปัจจุบันข้ามไปอีกฝั่งไม่ได้ ภาพถัดมาถ่ายภายหลัง)

อ้างอิง : http://www.oknation.net/blog/nukpan/2010/09/17/entry-1