วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

อุปกรณ์ดักจับสัตว์น้ำ

          วิถีชุมชน แต่ละถิ่นฐาน มีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสายน้ำ เรื่องราวเหล่านี้ คนรุ่นใหม่เด็กรุ่นใหม่ จะไม่รู้จัก ทราบถึงการสังเกตวิเคราะห์ การดำรงชีวิตในแต่ละฤดูกาล ผมมีเพื่อนบ้าน บ้านอยู่ใกล้ๆกัน ที่บ้านต่างจังหวัด ผมชอบตามหลังคุณลุงเภาไปดูการดักลอบไซ และเดินไปดูคนอื่นๆทำห้างยกยอขนาดใหญ่ มักสอบถามเพื่ออยากทราบเรื่องราวด้วยความอยากรู้นั้นเอง ถึงแต่ละถิ่นแต่ละภาค วิถีชีวิต การดำรงชีพ จับสัตว์น้ำ ผมไปนครศรีฯสัปดาห์หน้า มีหลายๆเรื่องในวัยเด็กๆที่ เราเรียนรู้แบบครูพักลักจำ และแบบบอกต่อกันมาเรื่องการจับสัตว์น้ำ ผมเคยไปตัดกาบตาลตะโหนด ต้นที่ไม่อ่อน และแก่เกินไป นำกาบมาแช่น้ำ 1-3 คืน แล้วนำมาทุบๆ เอาใยเส้น มาทำชุดดักปลาช่อนได้ปลาช่อนขนาดใหญ่ การแทงชุด และแทงตรอมดักนกเขานั้นจึงเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นทางปักษ์ใต้ ที่ผมเคยทำมาเองเมื่อเด็กๆ




( ชุด ดักปลาช่อน ใช้ใยตาลตะโหนด หรือภาษาปักษ์ใต้ เรียกกาบโหนด นำใยที่ได้จากกาบคลึงๆ
ให้เคลี่ยวกลมๆแล้วใช้สันมีดกดรีดให้แบนๆ ความยาวประมาณ 30-35 ซ.ม. นำมาแทงชุดขึ้นรูป ตรงนี้ถ้าคนมีฝีมือ การขึ้นรูปชุดจะสวยงามมาก ภาคอื่นๆจะใช้หวายแทงชุดดักปลาช่อน ถ้าเป็นชุดดักปลากด จะทำอีกแบบ โดยใช้หนามหวายลิง ที่มีหนาม หันไปทางเดียวกันมาทำ เมื่อปลากดเข้าชุด จะไหล่ไปตามหนาม แต่ถ่อยหย่อนมาไม่ได้ เพราะ หนามจะแทงกดทับไว้ ภาพชุด จากพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน อำเภอรัตภูมิสงขลา พิพิธภัณฑ์ จัดเป็นระบบระเบียบ ขอขอบคุณครับ)ตรอมแทงคล้ายๆชุด บานขนาด กะลามะพร้าว ใช้ใยตาลตะโหนด นำขึ้นไป ไว้เหนือรังนกเขาที่มันทำรังที่กิ่งไม้ เมื่อนกมากกในรัง เราจะดึงเชื่อกตรอมจะมาคลุมตัวนกเขาเราปีนขึ้นไปปลดนกลงมา นี้คือภูมิปัญญาท้องถิ่นปักษ์ใต้ (เส้นใยตาลตะโหนดนั้นมีกระบวนการวิธีเลือกเส้นมากไม่ขอกล่าวในที่นี้) ชุดดักปลาช่อนนั้น การดักเราจะทราบว่าลักษณะ เช่นไรเป็นทางปลาผ่านและซ้อนดักกุ้ง ตามคันนา ที่มีช่องน้ำไหล่ ซ้อนดักปลากดที่ทำจากหนามหวายลิง ดักเมื่อหลังเดือนสิบ เข้าสู่ฤดูฝน ปลากดขึ้นวางไข่ ตรงนี้ต้องสังเกตเป็นว่าทางน้ำอย่างไร? ปลากดผ่าน ในน้ำระหว่างพอนจาก ต้นจาก (ต้นจากเป็นไม้น้ำกร่อย) ชุดดักปลาช่อน คล้ายๆชุดจับหมูในอดีตที่ทำด้วยหวาย ปัจจุบันนี้ไม่มีแล้วเช่นกัน
(การเสด็จตรวจราชการหัวเมืองปักษ์ใต้ ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
เขียนทูลเกล้าฯถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหน้า 10 กล่าวว่าที่ชุมพร
ราษฏร์ตั้งละมุ ละมุคือโป๊ะเล็กๆ ที่ทำไว้สำหรับจับปลาตามชายทะเล เป็นรายงานเมื่อ พ.ศ.2439)


คุณลุงเภา น่าจะเป็นคนเดียวที่เหลื่ออยู่ ในชุมชน ที่ทำจักสานอุปกรณ์ดักลอบดักไซในชุมชน คนรุ่นใหม่ๆ ซื้อตาข่าย มาดักปลา ไม่มีความสามารถ ทำเองได้ ถ้าจะดักลอบไซ คงไปซื้อมาจากที่ผู้อื่นทำขายจากที่อื่น

ศิลปะ ภูมิปัญญา เรื่องราวเหล่านี้เริ่มตั้งแต่รู้จักขนาดลำไม้ไผ่ ขนาดไม้ไผ่ ที่นำมาทำไม้ไผ่ ไม่แก่และอ่อนเกินไป นำมาตัดให้ขนาดเท่าๆกัน ดังที่เห็นในภาพ ขั้นเตรียมการทำลอบไซ


ไม้ไผ่ จากเป็นลำๆ นำมาเลาให้เป็นเส้นกลมๆ ขนาดเท่าๆกัน เพื่อทำซีกรงไซ ลอบ และแบ่งบางส่วนไว้ทำอย่างอิ่น อุปกรณ์เสริม เช่นงาไซ ขอบไซ ฝาปิดท้ายไซ


รูปแบบของไซ อยู่ในขั้นตอนขึ้นรูป ในอดีต ใช้หวาย ใช้เชื่อก ปัจจุบันใช้เชือกไนลอนทนทานกว่าลุงเภากล่าว



การทำไซ จะเห็นตามภาพ ยังมีกระบวนการอีกมาก การส่งเสริมการเรียนรู้วิถีชุมชน หลายแห่งละเลยถูกมองข้ามไป ไม่เห็นความสำคัญตรงนี้ เรื่องราวเหล่านี้ เด็กรุ่นหลัง จะได้ยินแต่เรื่องเล่าเท่านั้นทางองค์การบริหารส่วนตำบลโดยท่านนายกฯไพรวงษ์ ชินบุตร น่าจะรวบรวม สร้า้งพิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้ของท้องถิ่น โดยเก็บอุปกรณ์ ไถ่นา อุปการณ์หาปลา ฯลฯ มาจัดให้เป็นระบบ โดยขอบริจาคจาคชาวบ้านที่ใครๆทิ้งแล้ว นี้คือการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์นะครับ คนแวะมาดูมากมาย

ใกล้จะเสร็จแล้ว ใส่งาไซ ใส่ปิดท้าย จะนำไปใช้การได้



คลองหน้าบ้าน เมื่อน้ำลด เพื่อนบ้านมาขัดไม้สร้า้งห้างยกยอ ณ วันนี้ ถนนริมคลอง เลียบคลองน้ำเต็ม
รถยนต์ เข้าไม่ได้ (น่าเสียดาย สะพานที่มองเห็นน้ำพัดพังไปแล้ว ปัจจุบันข้ามไปอีกฝั่งไม่ได้ ภาพถัดมาถ่ายภายหลัง)

อ้างอิง : http://www.oknation.net/blog/nukpan/2010/09/17/entry-1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น